๑๒.๘.๕๑

ระบบนิเวศ

ระบบนิเวศ

ความหมาย หมายถึง หน่วยของความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในแหล่งที่อยู่แหล่งใดแหล่งหนึ่ง มาจากรากศัพท์ในภาษากรีก 2 คำ คือOikos แปลว่า บ้าน, ที่อยู่อาศัย Logos แปลว่า เหตุผล, ความคิด ความหมายของคำต่างๆ ในระบบนิเวศสิ่งมีชีวิต (Organism)หมายถึง สิ่งที่ต้องใช้พลังงานในการดำรงชีวิต ซึ่งมีลักษณะที่สำคัญดังนี้

  • ต้องมีการเจริญเติบโต
  • เคลื่อนไหวได้ด้วยพลังงานที่เกิดขึ้นในร่างกาย
  • สืบพันธุ์ได้ สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม
  • ประกอบไปด้วยเซลล์
  • มีการหายใจ
  • มีการขับถ่ายของเสียต้องกินอาหาร หรือแร่ธาตุต่างๆ

ประชากร (Population)หมายถึง สิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่เป็นชนิดเดียวกัน อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่เดียวกัน ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง

กลุ่มสิ่งมีชีวิต (Community)หมายถึง สิ่งมีชีวิตต่างๆ หลายชนิด มาอาศัยอยู่รวมกันในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง โดยสิ่งมีชีวิตนั้นๆ มีความสัมพันธ์กัน โดยตรงหรือโดยทางอ้อม

โลกของสิ่งมีชีวิต (Biosphere)หมายถึง ระบบนิเวศหลายๆ ระบบนิเวศมารวมกัน

แหล่งที่อยู่ (Habitat)หมายถึง บริเวณ หรือสถานที่ที่ใช้สำหรับผสมพันธุ์วางไข่ เป็นแหล่งที่อยู่ เช่น บ้าน สระน้ำ ซอกฟัน ลำไส้เล็ก

สิ่งแวดล้อม (Environment)หมายถึง

  • 1. สิ่งที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ทำให้สิ่งมีชีวิตเจริญเติบโตหรือ ดำรงชีวิตได้ดีหรือไม่
  • 2. สิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเรา ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต

โครงสร้างระบบนิเวศ

  • 1. องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Substance)ได้แก่ สารชนิดต่างๆ ทั้งที่เป็นอินทรียสารและอนินทรียสารที่สิ่งมีชีวิตสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต เช่น น้ำ ก๊าซออกซิเจน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แร่ธาตุต่างๆ เป็นต้น
  • 2. กลุ่มสิ่งมีชีวิต (Community)แบ่งได้ 3 พวก คือผู้ผลิต ผู้บริโภค ผู้ย่อยสลาย

ระบบนิเวศแบบต่างๆ

ระบบนิเวศ แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 แบบ คือ ระบบนิเวศบนบก และ ระบบนิเวศในน้ำระบบนิเวศแบบต่างๆในที่นี้จะกล่าวถึงระบบนิเวศ 4 แบบเท่านั้น คือ

1. ระบบนิเวศแหล่งน้ำจืด 2. ระบบนิเวศในทะเล 3. ระบบนิเวศป่าชายเลน 4.ระบบนิเวศป่าไม้


ประเภทของผู้ผลิต

ผู้ผลิต (Producer หรือ Autotroph) คือ สิ่งมีชีวิตที่สามารถสังเคราะห์อาหารได้โดยการเปลี่ยนอนินทรียสารให้เป็นอินทรียสาร มี 2 ประเภท คือ
-สังเคราะห์อาหารเองได้ ส่วนใหญ่มีการสังเคราะห์แสงเพราะมีคลอโรฟิล ได้แก่ พืชสีเขียว แพลงค์ตอนพืช (phytoplankton) แต่บางพวกมีการสังเคราะห์เคมี (Chemosynthesis) โดยไม่ต้องใช้คลอโรฟิล เช่น แบคทีเรียบางพวก

  • -ไม่สามารถสังเคราะห์อาหารเองได้ ผู้ผลิตบางพวกสามารถกินสัตว์ได้เพราะต้องการนำธาตุไนโตรเจนไปสร้างเนื้อเยื่อ พืชพวกนี้ได้แก่ ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง กาบหอยแครง สาหร่ายข้างเหนียว ส่วนใหญ่ถือว่าทำหน้าที่เป็นผู้ผลิต

ยังไม่หมดนะคะดูข้อมูลต่อที่นี่... คลิกเลย
(ผู้ย่อยสลาย ,การหมุนเวียนสาร, Food-Chain ,Food-Web ,การพัฒนาและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ,สิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญต่อชีวิต(ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม)


จัดทำโดย
1. น.ส. วชิราพร โพธิ์จุมพล 2. น.ส. อรุณี ยังขจรเกียรติ์ 3. นาย อนิรุจน์ แกว่นธัญกิจ นักเรียนชั้น ม. 6/1 โรงเรียนคลองลานพัฒนาจินดาศักดิ์

๖ ความคิดเห็น:

khongbeng WAA กล่าวว่า...

ดีมาก

khongbeng WAA กล่าวว่า...

เป็นเนื้อหาที่ดี ขอเป็นกำลังใจให้นะค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ขอเป็นกำลังใจให้นะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

น่าสนใจสู้ต่อไป

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

น่าจะมีเรื่องอื่นด้วย

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เนื้อหามีประโยชน์ การตกแต่งพอใช้ได้